วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ขั้นตอนการจัดระบบ


         การจัดระบบ และองค์ประกอบของระบบนั้น สามารถนำมาจัดเป็น ขั้นตอนของการจัดระบบ โดยแบ่งเป็น 4 ขั้น ดังนี้                
        ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นการสำรวจ แจกแจงและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อนำข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นมากำหนดวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ลำดับต่อมาวิเคราะห์และกำหนดภาระหน้าที่ต่างๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และวิเคราะห์งานที่ต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับหน้าที่ โดยแบ่งเป็น 4 ประการคือ
        1) วิเคราะห์แนวการปฏิบัติงาน คือ การพิจารณาแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย กำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรค ข้อบกพร่องต่างๆ
        2) วิเคราะห์หน้าที่ (Function Analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่ต่างๆ โดยละเอียด เพื่อสะดวกต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างครบถ้วน
        3) วิเคราะห์งาน (Task Analysis) เป็นการกำหนด แยกแยะรายละเอียดในหน้าที่
        4) การวิเคราะห์วิธีการและตัวเลข (Methods and Mean Analysis) เป็นการกำหนดหลักการ หรือตัวกลางที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย
        เมื่อเราวิเคราะห์ระบบแล้วก็จะได้ข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา และดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
        ขั้นที่2 สังเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการที่นำข้อมูลที่ได้ วิเคราะห์ จัดองค์การต่างๆให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการเลือกวิธีการที่จะนำไปใช้ นิยมเขียนในรูป
        ขั้นที่ 3 สร้างแบบจำลองระบบ เป็นวิธีการที่นำเสนอระบบที่จะสะดวกต่อการนำไปใช้ นิยมเขีย
        ขั้นที่ 4 ทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง เป็นการทดลองนำแบบจำลองระบบไปใช้ในสถานการณ์จำลองที่สร้างขึ้น หากสามารถนำไปแก้ปัญหาได้ หรือต้องการมีการปรับปรุงแล้วนำไปแก้ไขปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง หากสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จำลองได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบนั้น ก็สามารถไปใช้ในสถานการณ์จริงได้

ความหมายและความสำคัญของวิธีระบบ


ความหมายของคำว่า "ระบบ"
      คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์
ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น (รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท)
      คือ การรวมสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมายที่มนุษย์ได้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อดำเนินงานทั้งหลายให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ (เบวา เอช เบนาที Banathy)
      ลักษณะสำคัญของวิธีระบบ 
      1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
      2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
      3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
      4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหาอันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
      5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
      6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน